กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

ความหมายและประเภทของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (Arrhythmia) คือ ภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจมีความผิดปกติไปจากเดิม โดยสามารถแบ่งอย่างง่ายๆ โดยใช้อัตราการเต้นหัวใจ ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. แบรดดีคาร์เดีย (Bradycardia) คือ หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ
  2. แทคคีคาร์เดีย (Tachycardia) คือ หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ

ซึ่งในกลุ่มหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติสามารถแบ่งย่อยได้ตามส่วนของหัวใจที่ผิดปกติ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • สาเหตุจากหัวใจห้องบน (Atrium) คือจุดเริ่มต้นของสัญญาณที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติมาจากหัวใจห้องบน ตัวอย่างของความผิดปกติได้แก่ Atrial fibrillation, Atrial flutter, Supraventricular tachycardia และ Wolff-Parkinson-White syndrome เป็นต้น
  • สาเหตุจากหัวใจห้องล่าง (Ventricle) คือจุดเริ่มต้นของสัญญาณที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติมาจากหัวใจห้องล่าง ตัวอย่างของความผิดปกติได้แก่ Ventricular tachycardia, Ventricular fibrillation และ long QT syndrome เป็นต้น

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดนั้นไม่ได้เกิดอันตรายต่อร่างกาย แต่ในบางภาวะก็มีอันตรายถึงชีวิตซึ่งหมายถึงทำให้หัวใจหยุดเต้น หรือหัวใจวายได้

สาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากสัญญาณไฟฟ้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจทำงานผิดปกติ โดยอาจเป็นผลมาจากเซลล์ประสาทที่คอยนำสัญญาณไฟฟ้าถูกทำลาย หรือมีประสิทธิภาพการนำสัญญาณไฟฟ้าลดลง จนไปรบกวนจังหวะการเต้นของหัวใจ 

นอกจากนี้ ผลข้างเคียงของยาบางชนิดยังทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้เช่นกัน แม้กระทั่งยาที่ขายตามร้านขายยาทั่วไป เช่น 

  • ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic antidepressant) 
  • ยาแก้แพ้กลุ่มต้านฮิสทามีน (Antihistamine) 
  • ยากลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta blocker)  

นอกเหนือจากยาบางชนิดแล้ว ยาเสพติดบางประเภท เช่น โคเคน (Cocaine) เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamines) หรือยาบ้า รวมถึงสารจำพวกคาเฟอีนและนิโคติน ก็ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมักจะพบบ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือโรคอื่นๆ ที่จะทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้มากกว่า

อาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะหลายชนิดมักไม่มีอาการแสดงออกมา แต่ก็ยังมีอาการบางอย่างที่สามารถสังเกตได้ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ใจสั่น โดยผู้ป่วยอาจรู้สึกสั่นๆ ในอก หรือรู้สึกหัวใจเต้นรัวและแรงมาก
  • รู้สึกหัวใจหยุดเต้นเป็นพักๆ ไม่เต้นตามจังหวะปกติ หรือรู้สึกว่าจังหวะการเต้นไม่สม่ำเสมอ
  • เพลีย อ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ
  • หัวใจเต้นช้า

หัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะในขณะที่หัวใจเต้นผิดจังหวะอยู่นั้น หัวใจจะไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้และอาจหยุดทำงาน ดังนั้น หากผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ก็ควรเรียกรถพยาบาล หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉินทันที ได้แก่

  • แขนขาอ่อนแรงฉับพลัน เวียนศีรษะ หรือปวดศีรษะ
  • เป็นลมหรือหน้ามืด
  • หายใจไม่สะดวก
  • เจ็บแน่นหน้าอก

ปัจจัยเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ปัจจัยเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้ทั่วไป ได้แก่

  • หัวใจวาย
  • หัวใจล้มเหลวหรือกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม
  • ลิ้นหัวใจผิดปกติ
  • หัวใจพิการแต่กำเนิด
  • ความดันโลหิตสูง
  • ภาวะหยุดหัวใจขณะหลับ
  • ยาบางชนิดที่ซื้อได้ตามร้านขายยา
  • ยาเสพติด เช่น โคเคนหรือยาบ้า
  • ได้รับคาเฟอีนหรือนิโคตินมากเกินไป
  • เครียดจัดหรือโกรธจัด

การวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ

มีวิธีการตรวจ และเครื่องมือหลายอย่างที่สามารถตรวจหาหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ แต่การจะวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะได้นั้น จะต้องอาศัยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG หรือ EKG) เช่น

  • เครื่องโฮลเตอร์ มอนิเตอร์ (Holter monitor): มีลักษณะเป็นเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แบบพกพาได้ โดยมีแผ่นแปะ หรือสติ๊กเกอร์เล็กๆเป็นตัวรับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แพทย์จะแปะแผ่นดังกล่าวหลายตำแหน่งบนร่างกายและหน้าอก จากนั้นแผ่นตัวรับสัญญาณเหล่านี้จะสร้างภาพจำลองของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แล้วแพทย์จะตรวจดูว่ามีคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติอยู่ตำแหน่งใด ซึ่งโดยปกติแพทย์จะติดเครื่อง Holter monitor ประมาณ 24-48 ชั่วโมง
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram: ECHO): เป็นอัลตราซาวด์ประเภทหนึ่งที่ใช้คลื่นความถี่สร้างภาพจำลองของหัวใจ และสามารถใช้ในการวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ด้วยเช่นกัน
  • การตรวจสมรรถภายหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (Stress test): เป็นการทดสอบโดยให้ผู้ป่วยออกกำลัง เช่น วิ่งสายพาน ปั่นจักรยาน ใช้ยากระตุ้นหัวใจให้คล้ายกับการออกกำลังกาย ซึ่งการออกกำลังนี้จะไปกระตุ้นให้หัวใจเกิดการเต้นผิดจังหวะ และแพทย์ก็จะสามารถวินิจฉัยอาการได้

การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถรักษาได้โดยการใช้ยา การทำหัตถการ หรือการผ่าตัด ตามสาเหตุของความผิดปกติ 

ตัวยาที่ให้ผู้ป่วยจะช่วยชะลอจังหวะการเต้นของหัวใจหากหัวใจเต้นเร็วเกินไป และช่วยทำให้การเต้นของหัวใจสม่ำเสมอขึ้น กลุ่มยาที่ใช้รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้แก่ 

  • ยากลุ่มเบตา บล็อคเกอร์ (Beta blocker) 
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) 
  • ยากลุ่มแคลเซียม แชแนล บล็อคเกอร์ (Calcium channel blocker) 
  • ยากลุ่มแอนติอาร์ริทมิก (Antiarrhythmic Drugs)

ส่วนกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ สามารถรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จะใส่เข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เครื่องจะตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าที่ไปกระตุ้นหัวใจ และควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ว่ามีความผิดปกติอย่างไร

สำหรับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD) ผู้ป่วยจะต้องรักษาด้วยการใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (intracoronary stent) หรือ ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft: CABG) ซึ่งนิยมเรียกกันสั้นๆ "ทำบายพาส" 

สำหรับวิธีการทำบายพาสนั้น ศัลยแพทย์จะผ่าตัดนำหลอดเลือดที่อยู่ในสภาพดี เช่น บริเวณที่แขน หรือขา แล้วนำมาทำทางเบี่ยง หรือบายพาสให้เลือดไหลในหลอดเลือดที่ดีกว่าแทนหลอดเลือดหัวใจที่อุดตัน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับหัวใจเต้นผิดจังหวะ

นอกจากยาและการผ่าตัดแล้ว แพทย์ได้แนะนำให้ปรับพฤติกรรมง่ายๆ ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีไขมันและเกลือต่ำ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกบุหรี่
  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นภาวะที่นำไปสู่อันตรายถึงชีวิตได้ หากพบว่าตนเองมีความผิดปกติควรพบแพทย์โดยทันที และไม่ควรซื้อยารับประทานเองเนื่องจากยาที่ใช้รักษามีผลข้างเคียงที่จำเป็นต้องได้รับการปรับขนาดและประเมินผลข้างเคียงโดยแพทย์


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
About Arrhythmia. American Heart Association. (https://www.heart.org/en/health-topics/arrhythmia/about-arrhythmia)
Arrhythmia: Causes, symptoms, types, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/8887)
Arrhythmia | Irregular Heartbeat. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/arrhythmia.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ภาวะหัวใจเต้นกระตุกเเรง1ครั้ง แล้วก็เต้นปกติอีกประมาณ15-20นาทีก็จะเต้นเเรงอีก1ครั้งเกิดจากอะไร และเป็นภาวะเริ่มต้นของโรคหัวใจรั้วใช่หรือไม่คร้บ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
หัวใจเต้นผิดจังหวะต้องดูแลตัวเองอย่างไรดี
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
จะดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ลูก 7 ขวบ เมื่อลูกหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรดูแลลูกอย่างไหร่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะอันตรายไหมคะ แล้วมีวิธีตรวจสอบให้ละเอียดอย่างไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)