กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Tylenol (ตัวยา Paracetamol)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ในกลุ่มยาบรรเทาอาการปวด และยาต้านไข้ มีรูปแบบยาที่หลากหลาย ทั้งแบบยาน้ำ ยาเม็ด ยาหยด และยาฉีด
  • ยาพาราเซตามอลแต่ละรูปแบบมีปริมาณการรับเข้าร่างกายที่ต่างกันไปตามอายุของผู้ป่วย โดยกลไกลการออกฤทธิ์ของยา คือ ลดอาการปวดผ่านการยับยั้งศูนย์รวมความร้อนไฮโปทาลามัส
  • ผู้ป่วยโรคตับ ไต มีภาวะติดแอลกอฮอล์ หญิงมีครรภ์ ขาดสารอาหารเรื้อรัง ขาดเอนไซม์จีซิกพีดี คือ กลุ่มผู้ที่ต้องระมัดระวังในการใช้ยาพาราเซตามอล
  • หากลืมรับประทานยาพาราเซตามอล ให้รับประทานยาในปริมาณปกติทันทีที่นึกได้ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเพื่อชดเชยที่ลืมรับประทานยาไปก่อนหน้านั้น
  • ยาพาราเซตามอลอาจเป็นยาที่ทุกคนรู้จักกันดี แต่หากรับประทานไม่ถูกต้อง ยาก็อาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงร้ายแรงได้ ทางที่ดีหากคุณมีอาการปวดเกิดขึ้น ก็ควรไปตรวจสุขภาพกับแพทย์ เพื่อให้จ่ายยารักษาอย่างเหมาะสม (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

รูปแบบและส่วนประกอบของยา

พาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นยากลุ่ม ยาบรรเทาอาการปวด และยาต้านไข้ (Analgesics and Antipyretics) ซึ่งมีรูปแบบของยาดังต่อไปนี้

  • พาราเซตามอลในรูปยาเม็ด ประกอบด้วยพาราเซตามอล ขนาด 325 มิลลิกรัม และขนาด 500 มิลลิกรัม 
  • พาราเซตามอลในรูปยาน้ำ ประกอบด้วยพาราเซตามอล ความเข้มข้น 120 มิลลิกรัม ในยา 5 มิลลิตร และความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม ในยา 5 มิลลิตร
  • พาราเซตามอลในรูปยาหยด ประกอบด้วยพาราเซตามอล ความเข้มข้น 60 มิลลิกรัม ในยา 0.6 มิลลิลิตร 
  • พาราเซตามอลในรูปยาฉีด ประกอบด้วยพาราเซตามอล ความเข้มข้น 300 มิลลิกรัม ในยา 2 มิลลิลิตร

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

A-Mol/A-Mol Pediatric, Cetamol 500, Cetamol Syrup, Children's Tylenol, Cotemp, Denamol, Depyret, Infant's Tylenol, Infulgan, Lotemp Suspension, Panadol, Paracap, Paracap Kids, Paracetamol General Drug House

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กลไกการออกฤทธิ์

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ พาราเซตามอล ลดอาการปวดโดยยับยั้งการกระตุ้นการปวด และลดไข้โดยยับยั้งศูนย์ควบคุมการความร้อนที่ไฮโปทาลามัส มีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบแบบอ่อน เนื่องจากสามารถยับยั้งการสังเคราะห์พรอสตาแกลนดินส์ (prostaglandins) ในระบบประสาทส่วนกลางได้บ้าง

ข้อบ่งใช้ยาพาราเซตามอล

1. ยาพาราเซตามอล ชนิดยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ มีข้อบ่งใช้ คือ บรรเทาอาการปวดในระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง และลดไข้ โดยมีปริมาณต่อไปนี้

  1. วัยเด็ก ให้ใช้ยาขนาด 10-15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
  2. วัยผู้ใหญ่น้ำหนักตัว 33-50 กิโลกรัม ให้ใช้ยาขนาด 15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทุก 4 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (หรือประมาณ 3,000 มิลลิกรัม)
  3. วัยใหญ่น้ำหนักตัวมากกว่า 50 กิโลกรัม ให้ใช้ยาขนาด 1,000 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 4,000 มิลลิกรัม

2. ยาพาราเซตามอล ชนิดยาเม็ดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ บรรเทาอาการปวดในระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง และลดไข้ 

  1. วัยเด็ก ให้ใช้ยาขนาด 10-15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อโดส ทุก 4-6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 2,600 มิลลิกรัมหรือไม่เกิน 5 โดส
  2. วัยผู้ใหญ่ ให้ใช้ยาขนาด 500-1,000 มิลลิกรัมทุก 4-6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวัน คือ 4,000 มิลลิกรัม 

ในระหว่างที่รับประทานยาพาราเซตามอล คุณควรงดดื่มสุรา เพราะจะทำให้เป็นพิษต่อตับได้

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ด โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน 

ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไป และไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อควรระวังของการใช้ยา

  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะติดแอลกอฮอล์
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD Deficiency)
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยขาดสารอาหารเรื้อรัง
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ และโรคไต
  • ระวังการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

  • เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ 
  • ภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลลดต่ำลง (Agranulocytosis) 
  • อาการปวด รู้สึกแสบร้อนบริเวณที่ฉีดยา 
  • การแพ้ยารุนแรง 
  • เป็นพิษต่อตับ

ข้อมูลการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวเม็ดยาจัดอยู่ในกลุ่ม Category B คือ ยาค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ แต่ยาแบบฉีดจัดอยู่ในกลุ่ม Category C คือ ควรระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาทั่วไป (No Dealing Desks: NDD) 

ข้อมูลการเก็บรักษา

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 20 ถึง 25 องศาเซลเซียส เก็บยาให้พ้นจากแสงแดด 

ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ทุกคนมักจะรู้จัก และขึ้นชื่อด้านบรรเทาอาการปวด ทำให้หลายคนมักรับประทานยาตัวนี้ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง และทำให้เกิดผลข้างเคียงอันตรายภายหลังได้ ทางที่ดี ไม่ว่าจะรับประทานยาชนิดใด คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih.gov, Paracetamol. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7003571)
nhs.uk, Paracetamol for adults (https://www.nhs.uk/medicines/paracetamol-for-adults/)
drugs.com, Paracetamol (https://www.drugs.com/paracetamol.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

1 2 3 4 5